Wednesday, November 12, 2014

ฟินแลนด์กับการก้าวเข้าสู่สังคมความรู้และนวัตกรรม

ฟินแลนด์กับการก้าวเข้าสู่สังคมความรู้และนวัตกรรม


ประเทศฟินแลนด์ใช้เวลา 30 ปีในการก้าวเข้าสู่สังคมความรู้และนวัตกรรม โดยใช้ระบบรัฐสวัสดิการ การพัฒนาระบบการศึกษาที่เน้นการพัฒนาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของผู้เรียน และระบบนวัตกรรมแห่งชาติในการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และสังคม เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ นโยบายด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการพัฒนาระบบงานวิจัยและพัฒนา โดยให้ทุนสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาแก่มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยจำนวนมาก เพื่อใช้ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาไปเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมและการผลิต การพัฒนาด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และการส่งออกที่เกิดจากทรัพย์สินทางปัญญาของคนในประเทศ จนทำให้ประเทศฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารนิวสวีคให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลกในปี พ.. 2553 จากการจัดอันดับของ 100 ประเทศ (http://www.newsweek.com/best-countries-world-71817)โดยการเปรียบเทียบตัวชี้วัดทางด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ด้านคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง ในโมเดลฟินนิชตามโปรแกรมสังคมสารสนเทศ (Information Society Program) เริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายในโรงเรียนและสถาบันการศึกษา หลังจากนั้นจึงพัฒนาเนื้อหาสารสนเทศสำหรับการเรียน (Content production) การพัฒนาการสอนครู (teacher training) และการพัฒนาการใช้สารสนเทศของผู้ใช้บนระบบเครือข่าย

นอกจากนี้ประเทศฟินแลนด์ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมสารสนเทศ (Finnish model of the information society) ในปี พ.. 2538 และ ต่อมาในปี  .. 2541ได้พัฒนาแผนกลยุทธ์ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความรู้และความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีระบบนวัตกรรมแห่งชาติ (national innovation system) เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีความสามารถทางการแข่งขันสูงเป็นอันดับต้นของโลก  โมเดลฟินแลนด์ได้แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงของระบบรัฐสวัสดิการกับความสามารถทางแข่งขันทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือประชากรฟินแลนด์ให้ความสนใจและมุ่งมั่นในการปรับใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีทั้งในการทำงานและในชีวิตประจำวัน โดยคำนึงถึงผลกระทบของเทคโนโลยีและการสื่อสารต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามโมเดลฟินแลนด์

จุดเด่นของการพัฒนาโครงการวิจัยในฟินแลนด์คือ การเน้นสร้างองค์ความรู้ใหม่ การเผยแพร่ผลงานวิจัย การมีระบบประเมินผลที่ดี มีข้อมูลเชิงสถิติเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และการเชื่อมโยงงานวิจัยจากหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยโครงการวิจัยขนาดใหญ่จะมีโครงการวิจัยขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกัน แต่ละคณะในมหาวิทยาลัยจะมีผู้อำนวยการวิจัยที่เป็นผู้ประสานงานและกระตุ้นให้เกิดการสร้างงานวิจัยร่วมระหว่างสาขา แต่ละงานวิจัยจะมีหัวหน้าโครงการและนักวิจัยอยู่ในทีม ซึ่งนักวิจัยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายงานวิจัยคนละเรื่องที่สัมพันธ์กันในกลุ่มวิจัย เรียกว่า research group จะเห็นว่าในแต่ละคณะจะมีตำแหน่งนักวิจัยจำนวนมาก ที่ทำหน้าที่ในการพัฒนางานวิจัยโดยเฉพาะ ทำให้มีบทความวิจัยที่นำลงเผยแพร่ในวารสารที่มีการอ้างอิง(impact factor)ปีละประมาณ 8,000 บทความ และมีการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ใหม่เฉลี่ยปีละประมาณ 2,000 รายการ

จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนานวัตกรรมคือความคิดใหม่หรือความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากสารสนเทศ ความรู้ ซึ่งมีทั้งสารสนเทศทั่วไป และสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่ป้อนเข้าสู่อุปกรณ์รับข้อมูลโดยมีผู้รับและผู้ส่งข้อมูล คือสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการประมวลผลและสามารถแสดงผลออกมาตามคำสั่งที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ การที่จะเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องป้อนข้อมูลที่เป็นสารสนเทศและความรู้เข้าสู่ระบบสมองเพื่อให้เกิดการประมวลผลในการสร้างความคิดใหม่หรือความรู้ใหม่ หากสารสนเทศเป็นปัจจัยนำเข้าของสังคมความรู้ นวัตกรรมก็เป็นเป้าหมายหรือผลลัพท์ของสังคมความรู้ ดังนั้นทุกประเทศจึงให้ความสำคัญกับการเป็นสังคมสารสนเทศและสังคมความรู้เช่นเดียวกับที่องค์การยูเนสโก ได้ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมกันของสังคมสารสนเทศและความรู้ของประชาชน ไม่ให้เกิดช่องว่างทางสารสนเทศ (เช่นการมีห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ที่ดีในทุกชุมชน) และช่องว่างดิจิทัล (Digital divide) ส่วนสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่ระบบนวัตกรรมแห่งชาติส่วนใหญ่นั้นเป็นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์ (scientific information) ซึ่งผ่านกระบวนการวิจัยและพัฒนา จึงจะเป็นสารสนเทศที่สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้นสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์จึงควรจะเข้าถึงได้ง่ายอย่างแพร่หลาย ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับสู่สังคม จึงกล่าวได้ว่าในสังคมสารสนเทศ สารสนเทศทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะ (public goods) ที่ประเทศฟินแลนด์ให้ความสำคัญอย่างมากทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ สถิติที่สำคัญของฟินแลนด์  การวิจัยในฟินแลนด์

การจัดอันดับสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล Digital economy ranking 2010

ปัจจัยที่เป็นเครื่องวัดอันดับเศรษฐกิจดิจิทัล ประกอบด้วย

1. Connectivity and technology infrastructure
2. Business environment
 
3. Social and cultural environment
4. Legal environment
 5. Government policy and vision
 6. Consumer and business adoption

No comments:

Post a Comment